เมนู

บัดนี้ ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประ
โยชน์ใด เพื่อแสดงประโยชน์นั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สนฺตีธ สตฺตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่ อันเขาได้อยู่ อธิบายว่าสัตว์
ทั้งหลายที่มาสู่คลองพุทธจักษุ [ปรากฏ] มีอยู่. ศัพท์ว่า

อิธ

นี่เป็นนิบาต ใช้
ในการอ้างถึงถิ่นที่ ศัพท์ว่า อิธนี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวหมายถึงศาสนา เหมือน
อย่างที่ตรัสว่า อิเธว ภิกขเว สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ อิธ ตติโย สมโณ
อิธ จตุตฺโถ สมโณ สุญฺญา ปรปฺปวาทา สมเณกิ อญฺเญหิ
ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ 1 สมณะที่ 2 สมณะที่ 3 สมณะที่ 4 มีอยู่ในศาสนา
นี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้.
บางแห่งหมายถึง โอกาส เหมือนอย่างที่ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
อิเธว ติฏฺฐมานสฺส เทวภูตสฺส เม สิโต
ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอวํ ชานาหิ มาริส.

เมื่อเราเป็นเทพตั้งอยู่ในโอกาสนี้นี่แล เราก็ได้
อายุต่อไปอีก โปรดทราบอย่างนี้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์.

บางแห่ง ก็เป็นเพียงปทปูรณะ ทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัส
ไว้ว่า อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราแลบริโภคอาหารเสร็จแล้ว ก็พึงห้าม ไม่ให้เขาถวายอีก [โดยชัก
พระหัตถ์ออกจากบาตร] บางแห่งหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิธ
ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย
ตถาคตอุบัติ
ในโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก แม้ในที่นี้ อิธ ศัพท์ ก็พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวหมายถึงโลกเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าในสัตว์โลกนี้. บทว่า
สตฺตา ความว่า ชนทั้งหลาย ติด ขัด ข้อง คล้อง เกี่ยว อยู่ในขันธ์ทั้งหลาย

มีรูปขันธ์เป็นต้น ด้วยฉันทราคะ เหตุนั้นจึงชื่อว่าสัตตะ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
ท่านเรียกว่าสัตตะ แต่เพราะศัพท์ขยายความ โวหารนี้ จึงใช้แม้ในท่านผู้
ปราศจากราคะแล้วเท่านั้น.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า กิเลสดุจธุลีคือราคะ โทสะ และ
โมหะ ในดวงตาที่สำเร็จด้วยปัญญาของสัตว์เหล่านั้น มีเล็กน้อย และสัตว์
เหล่านั้น ก็มีสภาพอย่างนั้น เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน
ดวงตาน้อย หรือว่า กิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นของสัตว์เหล่าใดน้อย สัตว์
เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อย. พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้น
ชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา เพราะมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพ แก่
สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพเหล่านั้น พึงทำการเปลี่ยนวิภัตติว่า
สตฺตานํ แล้วทำการเชื่อมกับคำนี้ว่า เทเสหิ ธมฺมํ ก็เห็นความได้. คำว่า เทเสหิ
นี้เป็นคำวอนขอ. อธิบายว่าโปรดแสดง กล่าว สอน. ในคำว่า ธมฺมํ นี้

ธัมม-
ศัพท์

นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมีปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ
สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจธรรมเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ธัมมศัพท์
ใช้ในอรรถว่า ปริยัตติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขุ ธมฺมํ ปริยาปุณาติ
สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ ฯ เป ฯ เวทลฺลํ ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมเรียน
ธรรมคือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ ฯลฯ เวทัลละ ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า ปัญญา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา วานรินฺท ยถา ตว
สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ทิฏฺฐํ โส อติวตฺตติ.